สมัยศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติสมัยศรีวิชัย

            อาณาจักรศรีวิชัย  นี้เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ คือบริเวณที่เป็นแหลมมลายู  เดินนั้น  ศาสดาจารย์ยอรซ์  เซเดส์  ได้อ่านศิลาจารึกวัดเสมา  เมืองนครศรีธรรมราช  พบคำว่าศรีวิชัย  จึงมีความเห็นว่า  ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยนั้นอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง  เกาะสุมาตรา  ประเทศอินเดีย  เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่  ๑๓-๑๔
               
            อาณาจักรแห่งนี้  จีนเรียกว่า  ชิลิโพชิ  หรือโฟชิ  หรือคันโทลี  หรือ  โคยิง  แต่  อาร์  วี  มาจุมดาร์  นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดีอินเดีย  มีความเห็นว่าศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยนี้ขึ้นอยู่บนเกาะชวา  แล้วต่อมาได้ย้ายมานครศรีธรรมราช  และควดริทซ์  เวลส์  นักประวัติศาสตร์อังกฤษว่าอาณาจักรศรีวิชัยนั้นตั้งอยู่ที่เมืองไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี    ตรงกับความเห็นของ  หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ  รัชนี  ส่วนซึกโมโน  นักโบราณคดี  อินโดนีเซียว่า  อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่เมืองจัมบี หรือซัมพิ  ในเกาะสุมาตรา
               
            ด้วยเหตุนี้อาณาจักรศรีวัย  จึงปกครองในลักษณะสหพันธรัฐ  จึงมีศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักรอยู่หลายแห่งดังกล่าว  ดังนั้นเมืองสำคัญของศรีวิชัยจึงมีอยู่ทั้งบนแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา  เช่น  เมืองไชยา  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองปาเล็มบัง  และเมืองจัมบี  เป็นต้น  ดังนั้นการเดินทางติดต่อค้าขายระหว่างเมืองในอาณาจักรแห่งนี้  จึงมีเส้นทางการเดินเรือไปตามเมืองท่าสำคัญและทำให้การติดต่อกับพ่อค้าอินเดียในสมัยอินดียโรมันด้วย  พบแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในภาคใต้  ด้านฝั่งทะเลตะวันออก  จังหวัดชุมพร  พบแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบแหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาสที่อำเภอท่าชนะ  แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ที่อำเภอไชยา
               
            สำหรับด้านฝั่งทะเลตะวันตก  จังหวัดพังงา  พบแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก  คาบสมุทรมลายู  พบแหล่งโบราณคดีเปงกาลัน  บุจังที่รัฐเคดะห์  แหล่งโบราณคดีที่กัวลาเซลิงซิง และบูกิต  แหล่งโบราณคดีเตงกูเลมบู  พบโบราณวัตถุที่เป็นวัฒนธรรมของอินเดีย  แบบฝังสี  เหรียญอินเดียโบราณ  เป็นต้น
               
            ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปคาบมหาสมุทรมลายูนั้น  ได้พบกลองมโหระทึกในวัฒนธรรมดองซอนอยู่แพร่กระจายตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ  นับว่าเป็นชุมชนการค้าหรือแหล่งค้าขายของชาวอินเดีย  ซึ่งศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเป็นหลัก  จนชุมชนเหล่านั้นได้รับเอศาสนานั้นเข้าไปทำให้ชุมชนร่มเย็นเป็นสุขในที่สุด
               
            ต่อมาเมืออาณาจักรฟูนันล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่  ๑๑  นั้น  ดินแดนทางแหลมมาลายู  หรือแหลมทองนั้นมีการตั้งอาณาจักรศรีวิชัย  สามารถควบคุมเส้นทางการค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียรวมทั้งอาหรับ  เปอร์เซียและยุโรปได้

            อาณาศรีวิชัยนี้มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราของ  อินโดนีเซียขึ้นขึ้นมาถึงบริเวณแหลมโพธิ์  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และเมืองท่า  (ตามพรลิงค์หรือตำพะลิงค์)  จังหวัดนครศรีธรรมราช

            การพบศิลาจารึกภาษามาเลย์เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่วัดเสมาเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น  มีคำว่า  ศรีวิชัย  ส่วน  เมืองครห  ในสมัยศรีวิชัยนั้น    เป็นเมืองท่าค้าพริก  ดีปลี  และพริกไทยเม็ด  โดยมีต้นหมากต้นมะพร้าวอยู่มาก  แต่ยังมีความเชื่ออยู่ว่าเมืองครหิไม่น่าใช่เมืองไชยา  กล่าวคือ

            เมืองไชยาเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สุมาตรา  ทีสั่งซื้อมาให้อำมาตย์คลาในผู้ป่วยเมืองครหิ  ได้ทำการจัดการหล่อขึ้น  พ.ศ.  ๑๗๒๖  ตรงกับมหาศักราช  ๑๑๐๕  จึงมีข้อถกเถียงถึงว่า ที่สั่งขึ้นมาให้อำมาตย์คลาในผู้ครองเมืองครหิ  ได้ทการหล่อขึ้นเมือง  พ.ศ.  ๑๗๒๖  ตรงกับมหาราช  ๑๑๐๕  จึงมีข้อถกเถียงว่าครหิ   นั้นเป็นการแสดงอำนาจทางเขมรหรือเกาะสุมาตรา  ซึ่งนาจะเป็นครหิ  ที่เกิดขึ้นหลังอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายลงแล้ว  หรือไปขึ้นอยู่กับเมืองตาพรลิงค์ในพ.ศ.  ๑๗๐๐

            ดังนั้นเมืองไชยานั้นคงจะไม่ใช่เมืองครหิและน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย  มากกว่าเมืองปาเล็มบัง

            เมืองไชยานั้น  ได้มีการสร้างเจดีย์แบบมหายาน  ให้องค์เจดีย์เป็นรูปสีขระ  แปลว่าแบบภูเขา  คือเจดีย์มียอดจำนวนมาก  ตามคติให้มีพระพุทธเจ้าหลานพระองค์  เช่น  พระพุทธเจ้าพุทธะ  พระมัญศรีพุทธะ  พระญาณิพุทธะ  เป็นต้น  ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ว่า  พระเจ้ากรุงศรีวิชัยได้สร้างไอษฎิเคหะ  คือ  เรือนอิฐหรือปราสาทอิฐขึ้น  ๓  หลัง  สำหรับประดิษฐานพระปฏิมาของ  ปัทมปาณี  วัชรปาณี  และมารวิชัย  ในพื้นที่เมืองไชยาแห่งนี้  พบว่านอกจากจะสร้างเจดีย์ที่พระบรมธาตุแห่งนี้แล้วยังมี  เจดีย์ที่วัดแก้ว  ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแต่ต้องชำรุด  และเจดีย์ที่วัดหลงเดิมนั้นเหลือแต่ฐานอิฐที่มีลักษณะเดียวกัน  พระบรมธาตุไชยาองค์ปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะใหม่  เดิมนั้นเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนอุโมงค์ที่บรรจุหีบศิลาใบใหญ่ใส่พระบรมธาตุและสิ่งของต่าง ๆ  เดิมทีพื้นมีรูระบายอากาศเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๒  ซ.ม.  ๒  แห่ง  ต่อมาได้อุดเสีย  ต่อมาแม่น้ำพาเอาดินมาถมบริเวณหมู่บ้านเวียงสูงประมาณ  ๓  เมตร  หรือ  ๖  ศอกส่วนพระเจดีย์นี้จมลงไปใต้ดินประมาณเมตรครึ่ง  ต้องขุดแต่งกัน  เมืองครหิแห่งนี้หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจลงจึงถูกทิ้งล้างมาจนถึงสมัยอยุธยา  พุทธสาสนาจึงได้ฟื้นฟูขึ้น  จึงมีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทึบขนาดใหญ่จากหินที่เขานางเอ  อยู่หลังสวนโมกข์  มีอยู่ประมาณ  ๓๐๐-๔๐๐  องค์

            นั่นหมายถึงศูนย์กลางอำนาจของพวกไศเรนทร  (ราชาแห่งจอมเขา)  อยู่ที่บริเวณเมืองไชยา  ซึ่งเหมาะสมที่จะติดต่อกับอินเดียโดยเฉพาะที่เบงคอล  และเป็นเหตุให้พระอวดโลกิเตศวรโพธิสัตว์  ที่เป็นฝีมือของช่างแบบปาละแท้เดินทางมาประดิษฐ์ฐานที่เมืองไชยยาได้  โดยเฉพาะการติดต่อมหาวิทยาลัยนาลันทา  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนามหายานในเบงคอล  จนมีความปรากฏในจารึกแผ่นทองแดงพบที่นาลันทา  เมื่อ  พ.ศ.  ๑๓๙๒  ว่า  ด้วยที่ไศเรนทรอุปถัมภ์  มหาวิทยาลัยแห่งนั้นไปจากไชยา  ในบริเวณเมืองไชยามีเขาน้ำร้อนเป็นผู้เขาประจำวงศ์ไศเรนทร  สำหรับประดิษฐานพระเป็นเจ้าตามลัทธิพราหมณ์  แม้จะมีการนับถือพุทธศาสนา  แล้วยังยึดถือเป็นประเพณีการอาบน้ำร้อนที่ออกมาจากบนหุบเขานั้นถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งมีการจัดทำสระน้ำสำหรับอาบพระราชาตามประเพณีของอินเดีย  เรื่องนี้หากรวมไปถึงเขานางแอ  แล้วจะพบถ้ำนั้นมีสระบัวขนาดใหญ่ของสระ  น่าจะมีบริเวณที่สวยงาม  และหากจะทั้งทองประจำวันลงตามสระตามตำนานราชาแห่งซาบากก็ทำได้

            เมืองไชยาโบราณนี้เดิมเป็นเมืองไชยยาขนาดใหญ่กว่าเมืองตามพรลิงค์  ซึ่งมีชุมชนเมืองเก่า  และสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา  เจดีย์ที่วัดแกว  เจดีย์ที่วัดเวียง  เจดีย์วัดหลง  และพระอวโลกิเตศวรอย่างชวาอยู่จำนวนมาก  โดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวรขนาดเท่าคนที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี  เส้นทางติดต่อนั้นมีแม่น้ำหลวง (แม้น้ำตาปี)  ไหลผ่าน  เมื่อสำรวจเส้นทางพบว่าไปได้ถึงคีรีรัฐ  ซึ่งมีทางข้ามไปลงตะกั่วป่าได้อย่างสบาย  น่าจะเป็นเส้นทางเดินของชาวอินเดียทางหนึ่ง  สำหรับเมืองตามพรลิงค์นั้นมีพระบรมธาตุองค์เดียวเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาสมัยหลัง  และมีหาดทรายแก้วกับลุ่มแม่น้ำน้อย  ประการสำคัญอ่าวบ้านดอนนั้นเป็นแหล่งที่เรือสินค้าจากจีนใช้เป็นใช้เป็นท่าจอดเรือในสมัยโบราณได้  และรอบอ่าวบ้านดอนนั้นก็เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ  ในจารึก  พ.ศ.  ๑๗๗๓  ระบุว่า  พระเจ้าจันทภาณุยังมีอำนาจอยู่เหนือดินแดนอ่าวบ้านดอน

            สำหรับเมืองครหินั้นน่าจะอยู่แถวใต้เขมรมาทางญวน  หรือแถวคอคอดกระ

            พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย  หลวงจีนอี้จิง  เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีนทางเรือของอาหรับผ่านฟูนัน  มาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยนี้  ในเดือน  ๑๑  พ.ศ.  ๑๒๑๔  เป็นเวลาสองเดือน  ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี  ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์  ถึงเมืองท่าตามรลิปติที่อินเดีย  เพื่อสืบพระพุทธศาสนา  หลวงจีนอี้จิง บันทึกไว้ว่า  ประชาชนทางใต้ของแหลมมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสราม  ซึ่งมีอิทธิพลมาจากพ่อค้ามุสลิมอาหรับ  ที่เดินผ่านไปยังประเทศจีน  ศาสนาอิสลานั้นได้เผยแพร่ไปยังประเทศจีน  ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ไปยังมะละกา  กลันตัน  ตรังกานู  ปาหัง  และปัตตานี  จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป
ต่อมาใน พ.ศ.  ๑๕๖๘  อาณาจักรศรีวิชัยถูกอาณาจักรโจฬะ  จากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ยกทัพเรือเข้าไปโจมตีทำให้อ่อนกำลังลง  หลังจากนั้น  พ.ศ.  ๑๙๔๐  อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต  ที่มีอำนาจจากชวา

            ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง  แคว้นสุโขทัยนั้นได้แผ่อำนาจลงมายังหัวเมืองต่าง ๆ ตลอด  แหลมมาลายู  และที่เมืองนครศรีธรรมราช  เป็นเมืองสำคัญที่คอยดูแลหัวเมืองต่าง ๆ  ทางใต้


การล่มสลายของอาณาจักรศรีวิชัย

        อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมถอยลงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีสาเหตุหลายประการคือ
1.ถูกกองทัพทมิฬจากอินเดียรุกราน
2.ถูกลดทอนกำลังจากรัฐใหม่ๆบนเกาะชวา
3.ถูกบีบจากกลุ่มรัฐสยามบนแผ่นดินใหญ่
4.พื้นมี่กว้างเกินไปเกินจะปกครอง
5.พื้นที่ยุทธศาสตร์ขาดความอุดมสมบูรณ์   
        และจากข้อความจากคัมภีร์เก่าแก่ของชาวอินเดียสมัยต้นพุทธกาล หลวงจีนอี้จิง ได้เรียกอาณาจักรในคาบสมุทรภาคใต้ ว่าประเทศทั้งสิบ แห่งทะเลใต้ หรือ อาณาจักร ศรีวิชัย โดยยังมีการถกเถียงกันถึงที่ตั้งของเมืองหลวงว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ แต่ตามศิลาจารึก หลักที่ 35 พบที่บ้าน ดงแม่นางเมือง จังหวัด นครสวรรค์ กล่าวว่า เมื่อ ปี พ ศ 1710 พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศก ได้ขยายอำนาจขึ้นไปครอบครองดินแดนในแถบภาคกลางของประเทศไทย ต่อจากนั้นดินแดนแถบนี้ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของเขมร ครั้นใน พ.ศ. 1773 ศิลาจารึกพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช กล่าวว่าพระองค์ทรงกอบกู้อิสรภาพกรุงตามพรลิงค์กลับคืนมาได้ ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว อนุชาของพระองค์เสวยราชสมบัติแทน ตำนานกล่าวว่า
     " ... พญาจันทรภาณุผู้น้องเป็นพระยาแทน พญาจันทรภาณุเป็นพระยาอยุ่ได้ 7 ปี เกิดไข้ยมบนลงทั้งเมือง คนตายวินาศประลัย พญาจันทรภาณุ พญาพงศาสุราหะอนุชา และมหาเถรสัจจานุเทพกับครอบครัวลงเรือหนีไข้ยมบน ไข้ก็ตามลงเรือพญาและลูกเมียตายสิ้น พระมหาเถรสัจจานุเทพก็ตาม เมืองนครทิ้งร้างเป็นป่ารังโรมอยู่หึงนาน..."
             หลักฐานเท่าที่หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงแสดงให้เห็นว่า กรุงศรีธรรมโศกหรือกรุงตามพรลิงค์ หรือเมืองนครศรีธรรมราช เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยแล้วล่มสลายไปเมื่อครั้งเกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ถูกทิ้งร้างจมอยู่กลางป่าอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งพวกเจ้าไทยลงมาปกครองและฟื้นฟูบูรณาการบ้านเมืองขึ้นใหม่ ดังปรากฏเรื่องราวอยุ่ในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช
            ไม่มีใครทราบว่าในการฟื้นฟูบูรณาการกรุงศรีธรรมโศก และพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ในครั้งนี้ มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง หรือความเป็นมาอย่างไร คงทราบความจากตำนานแต่เพียงว่า พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้มีตรามาเกณฑ์ผู้คนสร้างเมืองนครศรีธรรมราชและพระธาตุจนเสร็จสิ้นในสมัยขุนอินทราชาเป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระศรีมหาราชา จนกระทั่งชาวนครศรีธรรมราชผู้หนึ่งสนใจศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ได้ค้นคว้าพบดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราชเก่า จดบันทึกไว้ในสมุดข่อยในหอสมุดแห่งชาติ จึงนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ว่า เมืองนครศรีธรรมราชเก่าสถาปนาขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ จุลศักราช 649 ตรงกับพุทธศักราช 1830
            อาณาจักรศรีวิชัยนั้นเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจทางทะเลตอนใต้ จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าทางทะเล ทำให้มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ศูนย์กลางของอาณาจักรนี้ น่าจะอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนเมืองไชยา(อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ซึ่งพบหลักฐานเป็นศิลาจารึก และพระพุทธรูปโบราณเป็นจำนวนมาก จนนักประวัติศาสตร์ไทยว่า เมืองไชยานี้น่าเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยนั้น จากความในจารึกกาลาสันเมื่อพ.ศ.๑๓๒๒ ดังกล่าว ทำให้มีข้อสันนิษฐานใหม่ว่า เมืองไชยาน่าเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยมากกว่า และมีฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญ เช่นเดียวกับเมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช ) ที่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชในอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน เหมือนเมืองต่างๆที่อยู่บนแหลมมลายู
           อาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจที่แผ่กว้างไพศาลมาก ในสมัยนั้นมีอาณาเขตครอบคลุมช่องแคบมะละกา ชวา สุมาตรา แหลมมลายู และหัวเมืองภาคใต้ของไทย เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนาอยู่ในพุทธศตวรรษที่๑๓-๑๗ จนเป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแพร่ทางเมืองไชยา เมืองตามพรลิงค์(เมืองนครศรีธรรมราช) ดังปรากฏหลักฐานในการสร้างพระบรมธาตุสำคัญที่เมืองตามพรลิงค์และเมืองไชยา ซึ่งพบพระพุทธรูปอวโลกิเตศวรที่เมืองไชยา และในขณะเดียวกันพระธรรมคัมภีร์ในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ก็ได้เข้ามาเผยแพร่เช่นกัน
       ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้น อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำนาจลง อาณาจักรที่เกิดใหม่ คือ อาณาจักรมัชปาหิต ได้มีอำนาจอยู่ในเกาะชวาก็ขยายอาณาเขตเข้ามาครอบครองดินแดนส่วนนี้แทนอาณาจักรศรีวิชัย





ที่มา

https://sites.google.com/site/histrory1/prawatisastr-thiy/2-xanacakr-sri-wichay

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบำกินนรีร่อน

มโนราห์