บทความ

ระบำกินนรีร่อน

รูปภาพ
ระบำกินนรีร่อน เป็นชุดการแสดงที่กองการสังคีต กรมศิลปากร ปัจจุบันคือสถาบันนาฏดุริยางค์ศิลป์ ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อนำไปเผยแในต่างประเทศ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ ตัดตอนปรับปรุงท่ารำมาจากการแสดงละครเรื่องมโนราห์ ตอนนางกินรีเล่นน้ำที่สระโบกขรณี ซึ่งจัดแสดงให้ประชาชน ณ โรงละครศิลปากร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยปรับปรุงท่ารำให้กลมกลืนกับท่วงทำนองเพลงเชิดจีนผสมกับท่าเหินบินของกินรี ต่อมาได้เพิ่มเติมนำลีลาท่ารำบูชายัญของนางมโนราห์มารำต่อท้ายเพลงเชิดจีน การแสดงระบำกินรีร่อนจัดแสดงได้สองรูปแบบคือ รำเฉพาะเพลงเชิดจีนแบบหนึ่ง หรือรำมโนราห์บูชายัญต่อท้ายเพลงเชิดจีนอีกแบบนึ่ง การแสดงชุดนี้ได้รับความนิยมว่ากระบวนรำงดงาม กะทัดรัด ลีลาท่ารำแปลกตา มีลักษณะผสมนาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์สากล ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่เป็นดนตรีประกอบการแสดงตามความเหมาะสมกับโอกาสที่จัดแสดง ทำนองเพลงเชิดจีนตัวหนึ่งและเชิดกลอง หรือเพิ่มเติมเพลงเร็วแขกบูชายัญในตอนท้าย แต่งกายยืนเครื่องลำลองแบบนางกินรี นุ่งผ้าจีบหน้านางคลี่สองชายพก คาด

มโนราห์

รูปภาพ
มโนราห์ ประวัติความเป็นมา             โนรา   หรือ   มโนห์รา  ( เขียนเป็น   มโนรา   หรือ   มโนราห์   ก็ได้ )  เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ   ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน   ภาคใต้   เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง   การรำ   บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง   และบางโอกาสมีบางส่วน   แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม      โนรา   เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า   โนรา   แต่   คำว่า   มโนราห์   หรือ   มโนห์รา   นั้น   เป็นคำที่เกิด   ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา   โดยการนำเอา   เรื่อง   พระสุธน - มโนราห์   มาแสดงเป็นละครชาตรี   จึงมีคำเรียกว่า   มโนราห์   ส่วนกำเนิดของโนรานั้น   สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ   ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย   ที่มา   จากพ่อค้าชาวอินเดีย   สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่   เรียกว่า   เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบ โหม่งฉิ่ง   ทับ   กลอง   ปี่   ใน   ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา   และท่ารำของโนรา   อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ   ทางอินเดีย   และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ   ประมาณปี   พุทธศักราชที่   ๑๘๒๐   ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้นเชื่