มโนราห์

มโนราห์

ประวัติความเป็นมา     

     โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม
     โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่งฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้นเชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง ปัจจุบันคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และจังหวะ ตะลุง ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ โนรา เกิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุงซึ่งมีตำนานเล่า กันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง มีชื่อว่า พระยา สายฟ้าฟาด มีลูกสาวที่ชื่อ ศรีมาลา ซึ่ง มีความสามารถในการร่ายรำมาก ได้เกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อกันว่า เป็นท้องกับเทวดา พระยาสายฟ้าฟาดเห็นดัง นั้นก็โกรธมาก สั่งให้นำนางศรีมาลาไป ลอยแพในทะเล ( คือ ทะเลสาปสงขลาและ แพได้ไปติดที่เกาะใหญ่ นางศรีมาลาก็ ได้ให้กำเนิดลูกชาย โดยตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ซึ่งมีนัยความว่า ลูกของเทวดา นางศรีมาลา ได้ฝึกให้เทพสิงหลฝึกร่ายรำ ซึ่งเทพสิงหล ก็สามารถร่ายรำได้สวยงามมาก และร่ายรำ มีชื่อเสียงมากที่เกาะใหญ่ จนรู้ไปถึง หูพระยาสายฟ้าฟาด ซึ่งพระยาสายฟ้า ฟาดก็ยังไม่รู้ว่าหลานตัวเอง ก็ได้ เชิญไปรำในราชสำนัก ฝ่ายนางศรีมาลานั้น ก็น้อยเนื้อต่ำใจเมื่อครั้งที่ถูกลอยแพ ก็บอกกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะ นี้จะไปรำได้ แต่ต้องปูผ้าขาวตั้ง ต่ริมฝั่งที่ลงจากเรือจนไปถึงตำหนัก พระยาสายฟ้าฟาดก็ตอบตกลง ดังนั้น เทพสิงหลจึงไปรำในราชสำนัก เทพสิงหลรำ ได้สวยงามมาก จนพระยาสายฟ้าฟาดก็ ตกตะลึงในความสวยงาม จึงถอดเครื่องทรงที่ ทรงอยู่ให้กับเทพสิงหล แล้วบอกว่า "เครื่อง แต่งกายกษัตริย์ชุดนี้มอบให้เป็นเครื่องแต่งกาย ของโนรานับแต่นี้เป็นต้นไป" เทพสิงหลจึง บอกว่าแท้จริงแล้วเป็นหลานของพระยาสายฟ้าฟาด พระยาสายฟ้าฟาดจึงรับโนราไว้ ในราชสำนักและให้สิทธิแต่งกายเหมือนกษัตริย์ทุก ประการ



มโนราห์จิตวินญาณของชาวใต้

เอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งนั้นคือ มโนราห์ หรือโนราห์   ซึ่งเป็นศิลปะการร้องและการรำชั้นสูง ทั้งนี้มีคนกล่าวกันว่าต้นกำเนิดนั้น คือที่อินเดียกว่า สี่ร้อยที่ผ่านมา โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อบูชามหาเทพทั้งสามนั้นก็คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ซึ่งในบทร้องของมโนราห์ปัจจุบันก็ยังคงมีเนื้อหาดังกล่าวเจือปนอยู่ แม้จะมีการดัดแปลงแก้ไขใส่เนื้อหาทางด้านพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือบรรพบุรุษ เติมไปบ้างตามอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อท้องถิ่น   ความเป็นศิลปะชั้นสูงของมโนราห์นั้นสามารถดูได้จาก งานครอบครูโขนละครและดนดรีไทย ที่เป็นมรดกของชาติและเป็นที่ยอมรับว่างดงามและสูงส่ง บนปรัมพิธีจะมีเศียรเก้าเศียรซึ่งเศียรที่เก้านั้นก็คือ เทริด มโนราห์(คล้ายมงกุฎ) อีกทั้งมโนราห์ยังเป็นศาสตร์ที่รวบรวมเอาศิลป์แขนงอื่นมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น งานช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างปักเย็บ เป็นต้น


บรมครูของมโนราห์สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลักๆคือ

     ราชครูมโนราห์ โดยเชื่อกันว่าครูเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เคยมีชีวิตในสมัยโบราณ ทั้งนี้จะเป็นเจ้าเมือง(เมืองพัทลุง)และบรมวงศานุวงศ์ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเครื่องแต่งกายของมโนราห์จึง มีลักษณะคล้ายเครื่องทรงกษัตริย์ ซึ่งบรมครูเหล่านี้ได้แก่ ขุนศรัทธา เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด แม่ศรีมาลา แม่นางคงคา แม่นางนวลทองสำลี ตาม่วงแก้ว ตาม่วงทอง ขุนแก้วขุนไกร  พ่อเทพสิงขร เป็นต้น     เหล่าตาพรานป่าและเหล่าเสนา เหล่านี้คือข้ารับใช้ในวัง และยังเป็นตัวตลกอีกด้วยเช่น พรานบุญ พรานเทพ  พรานหน้าทอง พรานเฒ่า เป็นต้น    ตายายมโนราห์ เหล่านี้ก็คือบุคคลที่เคยมีชีวิตอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์แต่เมื่อสิ้นชีพไปแล้วด้วยแรงครูจึงยังคอยวนเวียนปกปักษ์รักษา ลูกหลานเชื้อสายมโนราห์ ตลอดมา


ความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้เกิดความสามัคคีเป็นอย่างดีในชนชาวใต้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมชาวใต้จึงหวงถิ่นรักพี่เอื้ออาทรพี่น้อง แต่ปัจจุบันนี้ประเทศเราเปิดรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาโดยไม่กลั่นกรอง ทำให้เยาวชนของชาติละทิ้งวัฒนธรรมเดิม หันหน้าไปให้ต่างชาติ ยอมเป็นทิศทางวัฒนธรรมอื่นที่ตนเห็นว่างามแล้วถ้าวันหนึ่งที่ไทยสิ้นชาติขาดวัฒนธรรมแล้วมีคนมาถามว่า ชาติเดิมของยูนั้นมีดีอะไรบ้าง แล้วลูกหลานไทยก็เต้น โนบอดี้ให้เขาดี  วันนั้นก็คงเป็นวันที่วิญญาณบรรพบุรุษไทยร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด




เครื่องแต่งกาย



    1. เทริด (อ่านว่า เซิด) เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ






             หัวเทริดโนราห์



2. เครื่องรูปปัด เครื่องรูปปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ 5ชิ้น คือ บ่า สำหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม ชิ้น ปิ้งคอ สำหรับสวมห้อยคอหน้า-หลังคล้ายกรองคอหน้า-หลัง รวม ชิ้น พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า"พานโครง"บางถิ่นเรียกว่า"รอบอก" เครื่องลูกปัดดังกล่าวนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัวยืนเครื่องและตัวนาง (รำ) แต่มีช่วงหนึ่งที่คณะชาตรีในมณฑลนครศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ซับทรวง (ทับทรวง) ปีกเหน่ง แทนเครื่องลูกปัดสำหรับตัวยืนเครื่อง
ปิ้งคอ


บ่า




พานอก พานโครง หรือรอบอก



3. ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง สวมติดกับสังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้ายและขวา คล้ายตาบทิศของละคร


ปีกนกแอ่น หรือปีกเหน่ง


4. ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนมเปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ใช้ซับทรวง



5. ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง หรือ หางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก คู่ ซ้าย-ขวาประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งข้างซ้ายและขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี




ปีก หรือหางหงส์


 6. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์"(แต่ชาวบ้านส่วนมากเรียกว่า หางหงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจมกระเบน
    7. หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือสนับเพลาสำหรับสวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อยทับหรือร้อยทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย
    8. ผ้าห้อย คือ ผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครงแต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งผ้าบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า
    9. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบเป็นลวดลาย ที่ทำเป็นผ้า 3แถบคล้ายชายไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่างๆ สำหรับคาดห้อยเช่นเดียวกับชายไหว



หน้าผ้า


 10. กำไลต้นแขนและปลายแขน กำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น
    11. กำไล กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง ทำเป็นวงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆ วง เช่น แขนแต่ละข้างอาจสวม 5-10วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น
กำไล




 12. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงามคล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)

เล็บ




13. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูกงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ดหรือห่านสีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก
    14. หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็นหน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ

เครื่องดนตรี

1. ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รับ


 2. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ



 3. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง 21 เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด


 4. โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า "เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า



5. ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนา รูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี อัน เรียกว่า คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย

 6. แตระ หรือ แกระ หรือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน



องค์ประกอบหลักของการแสดง

    1. การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น
    2. การร้อง โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย เป็นต้น
    3. การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วน ตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะและลีลา ของดนตรีอย่างเหมาะเหม็ง การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของโนรา
    4. การรำเฉพาะอย่าง นอกจากโนราแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ ด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้ อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผู้กผ้าใหญ่ บางอย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่างใช้ในโอกาสรำลงครูหรือโรงครู หรือรำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้
        1. รำบทครูสอน
        2. รำบทปฐม
        3. รำเพลงทับเพลงโทน
        4. รำเพลงปี่
        5. รำเพลงโค
        6. รำขอเทริด
        7. รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว)
        8. รำแทงเข้
        9. รำคล้องหงส์
        10.รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท
    5. การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติโนราไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำการร้องและการทำลทแล้ว อาจแถมการเล่นเป็นเรื่องให้ดู เพื่อความสนุกสนาน โดยเลือกเรื่องที่รู้ดีกันแล้วบางตอนมาแสดงเลือกเอาแต่ตอนที่ต้องใช้ตัวแสดง น้อย ๆ (2-3คน) ไม่เน้นที่การแต่งตัวตามเรื่อง มักแต่งตามที่แต่งรำอยู่แล้ว แล้วสมมติเอาว่าใครเป็นใคร แต่จะเน้นการตลกและการขับบทกลอนแบบโนราให้ได้เนื้อหาตามท้องเรื่อง
ท่ารำมโนราห์

    ท่ารำของโนราไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าทุกคน หรือทุกคณะจะต้องรำเหมือนกัน เพราะการรำโนรา คนรำจะบังคับเครื่องดนตรี หมายถึงคนรำจะรำไปอย่างไรก็ได้แล้วแต่ลีลา หรือความถนัดของแต่ละคน เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำ เมื่ผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เครื่องดนตรีจะต้องสามารถเปลี่ยนเพลงได้ตามคนรำ ความจริงแล้วท่ารำที่มีมาแต่กำเนิดนั้นมีแบบแผนแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ารำในบทครูสอนสอนรำ และบทประถม ท่ารำเมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นช่วง ๆ ทำให้ท่ารำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิทเปลี่ยนแปลงไป เพราะหากจะประมวลท่ารำต่าง ๆของโนราแล้ว จะเห็นว่าเป็นการรำตีท่าตามบทที่ร้องแต่ละบท การตีท่ารำจามบทร้องนี้เองที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ท่ารำเปลี่ยนแปลงและ แตกต่างกันออกไป เพราะท่ารำที่ตีออกมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำว่าบทอย่างนี้จะตี ท่าอย่างไร ท่ารำที่ค่อนข้างจะแน่นอนว่าเป็นแบบแผนมาแต่เดิมอันเป็นที่ยอมรับของผู้รำโนราจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้น ดังนี้การทรงตัวของผู้รำ ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้       


ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวแบบนี้เสมอ      
ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ       
   - การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็ก            น้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้องย่อลงด้วย        
   ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม         การเคลื่อนไหว นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่าง เพราะการรำโนราจะดีได้นั้น ในขณะที่เคลื่อนไหวลำ          ตัว หรือจะเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี เช่น การเดินรำ ถ้าหากส่วนเท้าเคลื่อนไหว ช่วงลำตัวจะ          ต้องนิ่ง ส่วนบนมือและวงหน้าจะไปตามลีลาท่ารำ ท่ารำโนราที่ถือว่าเป็นแม่ท่ามาแต่เดิมนั้นคือ " ท่า        สิบสอง    
       ท่าสิบสอง โนราแต่ละคนแต่ละคณะอาจจะมีท่ารำไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะได้รับการสอนถ่ายทอดมาไม่เหมือนกัน(ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว) บางตำนานบอกว่ามีท่ากนก ท่าเครือวัลย์ ท่าฉากน้อย ท่าแมงมุมชักใย ท่าเขาควาย บางตำนานบอกว่ามีท่ายืนประนมมือ ท่าจีบไว้ข้าง ท่าจีบไว้เพียงสะเอว ท่าจีบไว้เพียงบ่า ท่าจีบไว้ข้างหลัง ท่าจีบไว้เสมอหน้า อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสันนิษฐานกันว่าท่าพื้นฐานของโนราน่าจะมีมากกว่า นี้ สังเกตได้จากท่าพื้นฐานในบทประถมซึ่งถือกันว่าเป็นแม่บทของโนรา จึงไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าท่ารำพื้นฐานมีท่าอะไรบ้าง    
       ท่ารำบทครูสอน เป็นท่าประกอบคำสอนของครูโนรา เช่น สอนให้ตั้งวงแขน เยื้องขาหรือเท้า สอนให้รู้จักสวมเทริด สอนให้รู้จักนุ่งผ้าแบบโนรา ท่ารำในบทครูสอนนี้นับเป็นท่าเบื้องต้นที่สอนให้รู้จักการแต่งกายแบบโนรา หรือมีท่าประกอบการแต่งกาย เช่น       
ท่าเสดื้องกรต่อง่า เป็นการสอนให้รู้จักการกรายแขน หรือยื่นมือรำนั่นเอง      
ท่าครูสอนให้ผูกผ้า เป็นการสอนให้นุ่งผ้าแบบโนรา เวล่านุ่งนั้นต้องมีเชือกคอยผูกสะเอวด้วย    - ท่าสอนให้ทรงกำไล คือสอนให้ผูที่จะเริ่มฝึกรำโนรา รู้จักสวมกำไลทั้งมือซ้ายและมือขวา    
ท่าสอนให้ครอบเทริดน้อย คือสอนให้รู้จักสวมเทริด การครอบเทริดน้อยนั้นจะเปรียบแล้วก็เหมือนกับการบวชสามเณร ส่วนการครอบเทริดใหญ่หรือพิธีครอบครูเปรียบเหมือนการอุปสมบทเป็นพระ ซึ่งการครอบเทริดน้อยจะไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก       
ท่าจับสร้อยพวงมาลัย คือท่าที่สอนให้รู้จักเอามือทำเป็นพวงดอกไม้หรือช่อดอกไม้      - ท่าเสดื้องเยื้องข้างซ้าย-ขวา ทั้งสองท่านี้เป็นท่าที่สอนให้รู้จักการกรายขาทั้งข้างซ้ายและข้างขวา  
ท่าถีบพนัก คือท่ารำที่เอาเท้าข้างหนึ่งถีบพนัก ( ที่สำหรับนั่งรำ ) แล้วเอามือรำ
ท่ารำยั่วทับ หรือ รำเพลงทับ เป็นการรำหยอกล้อกันระหว่างคนตีทับกับคนรำ โดยคนรำจะรำยั่วให้คนตีทับหลงไหลในท่ารำ เป็นท่ารำที่แอบแฝงไว้ด้วยความสนุกสนานและตื่นเต้น โดยผู้รำจะใช้ท่ารำที่พิสดาร เช่น ท่าม้วนหน้า ม้วนหลัง ท่าหกคะเมนตีลังกา ซึ่งก็แล้วแต่ความสามารถของผู้รำที่จะประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมา เพราะท่ารำไม่ได้ตายตัวแน่นอน เครื่องดนตรีจะเน้นเสียงทับเป็นสำคัญ   
 ท่ารำรับเทริด หรือ รำขอเทริด เป็นการรำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะการรำรับเทริดนิยมรำหลังจากมีการรำเฆี่ยนพรายหรือรำเหยียบลูกมะนาว เสร็จแล้ว เพราะการรำเฆี่ยนพรายหรือรำเหยียบลูกมะนาวเป็นการรำที่ต้องใข้คาถาอาคม ผู้ชมจะชมด้วยความตื่นตะลึงและอารมณ์เครียดตลอดเวลาที่ชม แต่การรำขอเทริดเป็นการรำสนุก ๆ หยอกล้อกันระหว่างคนถือเทริดหริอตัวตลกกับคนขอเทริดคือโนราใหญ่ที่ต้องรำ ด้วยลีลาท่าที่สวยงาม นอกจากมีท่ารำแล้ว ยังมีคำพูดสอดแทรกโต้ตอบกันด้วย การรำขอเทริดนี้ตัวตลกจะเดินรำถือเทริดออกมาก่อน แล้วคนขอจะรำตามหลังออกมาโดยคนขอยังไม่ได้สวมเทริด การรำขอเทริดจะใช้เวลารำประมาณ ๓๐-๔๕ นาที


ท่ารำของโนราที่เป็นหลัก ๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ 83 ท่ารำ ดังนี้
ท่าประถม ( ปฐม )
1.  ตั้งต้นเป็นประถม
2.  ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
3.  สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา
4.  เวโหนโยนช้า
5.  ให้น้องนอน
6.  พิสมัยร่วมเรียง
7.  เคียงหมอน
8.  ท่าต่างกัน
9.  หันเป็นมอน
10. มรคาแขกเต้าบินเข้ารัง
11. กระต่ายชมจันทร์
12. จันทร์ทรงกลด
13. พระรถโยนสาส์น
14. มารกลับหลัง
15. ชูชายนาดกรายเข้าวัง
16. กินนรร่อนรำ
17. เข้ามาเปรียบท่า
18. พระรามาน้าวศิลป์
19. มัจฉาล่องวาริน
20. หลงไหลไปสิ้นงามโสภา
21. โตเล่นหาง
22. กวางโยนตัว
23. รำยั่วเอแป้งผัดหน้า
24. หงส์ทองลอยล่อง
25. เหราเล่นน้ำ
26. กวางเดินดง
27. สุริวงศ์ทรงศักดิ์
28. ช้างสารหว้านหญ้า
29. ดูสาน่ารัก
30. พระลักษณ์แผลงศรจรลี
31. ขี้หนอนฟ้อนฝูง
32. ยูงฟ้อนหาง
33. ขัดจางหยางนางรำทั้งสองศรี
34. นั่งลงให้ได้ที่
35. ชักสีซอสามสายย้ายเพลงรำ
36. กระบี่ตีท่า
37. จีนสาวไส้
38. ชะนีร่ายไม้
39. เมขลาล่อแก้ว
40. ชักลำนำ
41. เพลงรำแต่ก่อนครูสอนมา 


ท่าสิบสอง
1.  พนมมือ
2.   จีบซ้ายตึงเทียมบ่า
3.  จีบขวาตึงเทียมบ่า
4.  จับซ้ายเพียงเอว
5.  จีบขวาเพียงเอว
6.  จีบซ้ายไว้หลัง
7.  จีบขวาไว้หลัง
8.  จีบซ้ายเพียงบ่า
9.  จีบขวาเพียงบ่า
10. จีบซ้ายเสมอหน้า
11. จีบขวาเสมอหน้า
12. เขาควาย 

บทครูสอน
1.  ครูเอยครูสอน
2.  เสดื้องกร
3.  ต่อง่า
4.  ผูกผ้า
5.  ทรงกำไล
6.  ครอบเทริดน้อย
7.  จับสร้อยพวงมาลัย
8.  ทรงกำไลซ้ายขวา
9.  เสดื้องเยื้องข้างซ้าย
10. ตีค่าได้ห้าพารา
11. เสดื้องเยื้องข้างขวา
12. ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
13. ตีนถับพนัก
14. มือชักแสงทอง
15. หาไหนจะได้เสมือนน้อง
16. ทำนองพระเทวดา 
บทสอนรำ
1.  สอนเจ้าเอย
2.  สอนรำ
3.  รำเทียใบ่า
4.  ปลดปลงลงมา
5.  รำเทียมพก
6.  วาดไว้ฝ่ายอก
7.  ยกเป็นแพนผาหลา
8.  ยกสูงเสมอหน้า
9.  เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้
10. โคมเวียน
11. วาดไว้ให้เสมือนรูปเขียน
12. กระเชียนปาดตาล
13. พระพุทธเจ้าห้ามมาร
14. พระรามจะข้ามสมุทร


ที่มา


https://sites.google.com/site/aungang16/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบำกินนรีร่อน

สมัยศรีวิชัย